วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ติดต่อเรา

ติดต่อศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. บาเจาะ

ชื่อ
อีเมล *
ข้อความ *

วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กศน. อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส กับการจัดงานสัมมนานานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษา ครั้งที่ 1 หรือ 1st International Seminar On Malay Studies 2011

โดย ศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะ

งานสัมมนานานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษา ครั้งที่ 1 
เมื่อสามปีก่อน กศน. อำเภอบาเจาะ ได้รับเลือกให้เป็นหน่วยงานหนึ่งในการเป็นเจ้าภาพจัดงานโครงการงานสัมมนานานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษา ครั้งที่ 1 หรือ 1st International Seminar On Malay Studies 2011 ซึ่งเป็นการนำนักวิชาการจากกลุ่มประเทศอาเซียนมาร่วมกันจัดสัมมนาในพื้นที่อำเภอบาเจาะ

หน่วยงานเจ้าภาพ
สำหรับหน่วยงานที่ร่วมในการจัดงานสัมมนาในครั้งนั้นคือ
1. รายการ “ดี สลาตัน ณ แดนใต้” สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS
2. อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
3. อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
4. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

วันเวลาการจัดสัมมนา
ระหว่างวันที่ 24-27 กัยายน 2554

วิทยากรที่เข้าร่วมโครงการ
ประกอบด้วยวิทยากรที่มาจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน อินโดเนเซีย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

เป้าหมายและวัตถุประสงค์
- เป้าหมาย:
เพื่อจุดประเด็นการนำบทเรียนเกี่ยวกับสังคมพหุวัฒนธรรม ความสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศโลกวัฒนธรรมมลายู (ประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย สิงคโปร์ บรูไน และฟิลิปปินส์) มาเสนอการประยุกต์ใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

- วัตถุประสงค์:
1. เพื่อให้ชุมชน สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เรียนรู้ประสบการณ์การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ของพี่น้องร่วมชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศโลกวัฒนธรรมมลายู ทั้งในสถานภาพของชนกลุ่มใหญ่ และชนกลุ่มน้อยในประเทศดังกล่าว
2. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเรียนรู้ ประสบการณ์ของชาวมลายูที่อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศโลกวัฒนธรรมมลายูโดยวิทยากรที่ได้รับเชิญ กับผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้

กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้เข้าร่วมโครงการจากต่างประเทศ ได้แก่ วิทยากร หรือนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา หรือนักวิชาการที่มีความชำนาญด้านสังคมพหุวัฒนธรรมจากประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ และอื่นๆ

2. ผู้เข้าร่วมโครงการจากภายในประเทศ ได้แก่ วิทยากร หรือนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา หรือนักวิชาการที่มีความชำนาญด้านสังคมพหุวัฒนธรรมจากประเทศไทย รวมทั้ง นักศึกษา ประชาชนและบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจ

รูปแบบการจัดงาน
การจัดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษาครั้งนี้ เป็นการจัดสัมมนาแบบบูรณาการ โดยมีกิจกรรมต่างๆดังต่อไปนี้

1. งานเสวนาและอบรมการเขียนบทกวีเพื่อสันติภาพ (Puisi Perdamaian)
จัดขึ้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจากพื้นที่อำเภอบาเจาะและอำเภอใกล้เคียง
2. งานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ปาตานี : ประสบการณ์จากโลกมลายู (Patani : Lessons from Malay Culture World) 
จัดขึ้นที่ หอประชุมกาญจนาภิเษก อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีผู้นำศาสนา ผู้บริหารโรงเรียนรัฐ ประชาชนทั่วไป จากอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
3. งานลงพื้นที่สัมผัสจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยคณะวิทยากรจากกลุ่มประเทศโลกวัฒนธรรมมลายูจะลงพื้นที่เยี่ยมสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา และมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา รวมทั้งลงพื้นที่เยี่ยมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อทางคณะวิทยากรจะได้เห็นสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ ซึ่งอาจแตกต่างจากการเสนอข่าวของสื่อมวลชนในต่างประเทศ
4. การบรรยายวรรณกรรม วัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน
ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้รับฟังความคิดเห็นของวิทยากรแต่ละท่าน โดยจัดขึ้น ณ หอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี


5. การพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชนในพื้นทีอำเภอบาเจาะ  
คณะวิทยากรได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชน โดยเลือกชุมชนบ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบ๊ะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
5. การเสวนาในหัวข้อ “การพัฒนาปาตานี : จากสายตาของโลกวัฒนธรรมมลายู”
เป็นการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาจังหวัดชายแดน เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนต่อไป ระหว่างคณะวิทยากรและคณะทำงานจัดงานสัมมนา ประกอบด้วยคณาจารย์แผนกวิชามลายูศึกษา มอ. ปัตตานี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส และคณะนักศึกษาผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์ศูนย์นูซันตาราศึกษา แผนกวิชามลายูศึกษา มอ. ปัตตานี ซึ่งทำหน้าที่นักศึกษาช่วยงานการสัมมนาในครั้งนี้


 การจัดงานงานสัมมนานานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษา ครั้งที่ 1 หรือ 1st INTERNATIONAL SEMINAR ON MALAY STUDIES 2011 นี้ถือเป็นความสำเร็จของ กศน. อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ในการร่วมเป็นเจ้าภาพของการจัดงาน 

และในโอกาสต่อไป ทางกศน. อำเภอบาเจาะ ก็จะร่วมเป็นเจ้าภาพของการจัดงานงานสัมมนานานาชาติว่าด้วยมลายูศึกษา ครั้งที่ /2 หรือ 2nd INTERNATIONAL SEMINAR ON MALAY STUDIES 2014 ซึ่งก็จะใช้อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นที่จัดงานเหมือนกับครั้งก่อน

วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โครงการสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตรอาเซียนศึกษา กศน. จังหวัดนราธิวาส

โดย ศูนยอาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะ

กศน. อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมการเรียนรู้หลักสููตรอาเซียนศึกษา ซึ่งหลักสูตรอาเซียนศึกษานี้เป็นหลักสูตรการเรียนทางไกล ก่อนอื่นขอแนะนำหลักสูตรอาเซียนศึกษาของกศน. ก่อนนะค่ะ

หลักสูตรอาเซียนศึกษา
เพื่อพัฒนาครู กศน. ตำบล ครู ศรช. และครูอาสาสมัคร กศน. 
ในการเตรียมความพร้อมประชาชน ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 
ใน พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015

หลักสูตรอาเซียนศึกษา
๑. ความเป็นมา    

             ปัจจุบัน ประชาชนโดยทั่วไปของประเทศสมาชิกอาเซียน     ซึ่งรวมถึงคนไทยที่ยังไม่ได้มีความรู้สึกถึงความเป็น "พลเมืองอาเซียน" จากรายงานผลการสำรวจข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องอาเซียน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าตนเองเป็น "พลเมืองอาเซียน" ไม่ถึงร้อยละ ๖๕

             ในฐานะที่ประเทศไทย   เป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งอาเซียน   รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๕๕๘ ที่เน้นการปฏิบัติและเชื่อมโยงยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาค ตามที่ปรากฎในปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๘   ซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกพันร่วมกับสมาชิกอาเซียนที่จะส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการรวมตัวของอาเซียนและกระบวนการเป็นประชาคมอาเซียน 

         นอกจากนี้ ในวาระที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน เมื่อปี   ๒๕๕๒    รัฐบาลไทยได้ผลักดันให้เกิดการบรรลุเป้าหมายกฎบัตรอาเซียน (Realizing the AseanChater) การเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalizing a people-centred ASEAN Community) และการเน้นย้ำความมั่นคงของประชาชนในภูมิภาค (Reinforcing humansecurity forall)เป็นต้น อันจะทำให้ประชาชนสามารถก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ได้อย่างบรรลุผลได้ภายในปี ๒๕๕๘

          รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์ เพื่อให้ประเทศไทยและคนไทยได้ประโยชน์สูงสุด   โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งในสามเสาหลัก คือ ๑) ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ๒) ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง และ ๓) ความร่วมมือทางสังคม และวัฒนธรรม โดยที่ประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลักมีความสำคัญเท่าเทียมกัน 

          และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กัน การกำหนดการก้าวไปสู่ประชาคมเป็นวาระแห่งชาติ จึงควรครอบคลุมทั้งสามเสา เพื่อประกอบกันเป็นประชาคมอาเซียนที่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยมีคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติเป็นกลไกระดับประเทศในการประสานการดำเนินงาน   และติดตามความคืบหน้าในภาพรวม รวมทั้งผลักดันและสนับสนุนหน่วยงานราชการต่างๆ ในการดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน

            ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายพัฒนาการศึกษาของประเทศ เพื่อในการเตรียมความพร้อมของคนไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยกำหนดให้มีการจัดการเรียนการสอน “หลักสูตรอาเซียนศึกษา” ในระดับต่างๆ ซึ่งก็ยังมีการขับเคลื่อนตามศักยภาพและความสนใจของผู้บริหาร และครูผู้สอน   ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการขาดข้อมูล องค์ความรู้และแนวทางในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนการสอน  

              สำนักงาน กศน. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการจัดส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนให้กับประชาชน เพื่อให้คนไทยเข้าใจอาเซียน   เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีวัฒนธรรมการกิน การอยู่ การดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน จึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกันของคนจำนวนกว่า ๖๐๐ ล้านคน รวมทั้งตระหนักถึงผลกระทบที่อาจได้รับ อันเป็นผลจากการรวมตัวของ “ประชาคมอาเซียน”

               ในปัจจุบัน สำนักงาน กศน. มีครูและบุคลาการทางการศึกษา รวม ๑๘,๓๗๕ คน ในจำนวนนี้ เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ทำหน้าที่ในการบริหารและวางแผน      จำนวน ๓,๒๐๘    คน   และครู กศน. ตำบล ครูอาสาสมัคร และอื่นๆ จำนวน ๑๕,๑๖๗ คน ที่มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารและจัดการความรู้ไปสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ตำบลและหมู่บ้าน โดยไม่นับรวมถึงครูและบุคลกรทางการศึกษาในสังกัดอื่นที่มีอีกนับแสนคน    

               ดังนั้น หากบุคลากรเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับ “อาเซียนศึกษา” ถูกต้อง เป็นระบบ เพียงพอ ก็จะช่วยให้สามารถขับเคลื่อนประเด็นเกี่ยวกับ อาเซียนศึกษา ไปสู่ประชาชน และนักเรียน   นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเตรียมความพร้อมของคนไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘

๒. จุดประสงค์
เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา

           (๑) รู้และเข้าใจเกี่ยวกับ “อาเซียน” และ “ประชาคมอาเซียน”
           (๒)รู้และตระหนัก ถึงผลกระทบที่ประชาชนและประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน
           (๓)รู้แนวทางและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมอาเซียนศึกษา ให้กับนักศึกษาและประชาชนได้อย่างเหมาะสม

๓. กลุ่มเป้าหมาย
              ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดย มีครู กศน.ตำบลเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้และจำนวนหน่วยกิต
              (๑) จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ ๖๐ ชั่วโมง โดยมีระยะเวลาเรียนรู้ประมาณ   ๒ เดือน
               (๒) จำนวนหน่วยกิต  ๑.๕ หน่วยกิต จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ ๔๐ ชั่วโมง เท่ากับ  ๑ หน่วยกิต

๔. โครงสร้างหลักสูตร
               ประกอบด้วย สาระการเรียนรู้ จำนวน ๔ หน่วยการเรียนรู้ และกิจกรรมสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตร รวม ๖๐ ชั่วโมง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                ๑) สาระการเรียนรู้ จำนวน ๔ หน่วยการเรียนรู้ จำนวน ๕๐ ชั่วโมง
                   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑      ปฐมบทแห่งอาเซียน
                   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒      รู้จักประเทศสมาชิกอาเซียน
                   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓      ประเทศไทยกับอาเซียน
                   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔      การจัดกิจกรรมอาเซียนศึกษา
                 ๒) สัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตร จำนวน ๑๐ ชั่วโมง


          ๕. สื่อการเรียนรู้
           สื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรอาเซียนศึกษา ได้จัดทำในลักษณะชุดการเรียนสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งจัดทำเนื้อหาโดยคณะทำงานซึ่งประกอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียน ด้านสื่อการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ซึ่งประกอบด้วยสื่อต่างๆ ดังนี้

               ๑) ชุดการเรียนทางไกล เป็นเอกสารที่ประกอบด้วย คำชี้แจงที่เกี่ยวข้อง และเนื้อหา จำนวน ๔ หน่วยการเรียนรู้ พร้อมด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ และกิจกรรมที่มอบหมาย 

               ๒)  คู่มือการเรียนทางไกล หลักสูตรเซียนศึกษา เป็นเอกสารที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการเรียนรู้หลักสูตร และให้ผู้เรียนใช้บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ งานที่มอบหมาย เพื่อตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจ จากการเรียนรู้ของตนเอง 

๓)  สื่อวีดิทัศน์ เสริมเติมเต็มเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับอาเซียน และประชาคมอาเซียน 

๖. การประเมินผล
             การประเมินผลเพื่อการจบหลักสูตร ประเมินจากองค์ประกอบ และสัดส่วนของคะแนน ดังนี้

      ๑) แฟ้มสะสมผลงานจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง                                    ๗๐ คะแนน

                - กิจกรรมการเรียนรู้      ๓๐ คะแนน
                - กิจกรรมที่มอบหมาย  ๔๐ คะแน

       ๒) การสอบภาคความรู้   ๒๐ คะแนน

      ๓) การเข้าร่วมสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบ  ๑๐ คะแนน


๗. การจบหลักสูตร
            ผู้เรียนที่จะได้รับการพิจารณาให้จบหลักสูตร จะต้องผ่านการวัดผลและประเมินผลตามเกณฑ์ ดังนี้ 

            ๑) มีคะแนนการประเมินในแต่ละองค์ประกอบ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ 
            ๒) มีคะแนนรวมทุกองค์ประกอบ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐

 กระบวนการเรียนรู้
         กระบวนการเรียนรู้ “หลักสูตรอาเซียนศึกษา” เป็นการเรียนรู้ตามกระบวนการศึกษาทางไกล โดยมีกระบวนการ ดังนี้

๑. รับการปฐมนิเทศ ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์ กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) ตามวัน เวลาที่กำหนด

๒. การศึกษาด้วยตนเอง จำนวน ๕๐ ชั่วโมง

ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาและทำความเข้าใจคู่มือการเรียนทางไกล หลักสูตรอาเซียนศึกษา ส่วนที่ ๑ เพื่อให้เข้าใจนโยบาย และกระบวนการเรียนรู้   รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ขั้นตอนที่ ๒ วางแผนการเรียนรู้สำหรับตนเอง โดยคำนึงถึงความสะดวก ความพร้อมของตนเอง เพื่อให้สามารถศึกษาเนื้อหาสาระ ทำกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมที่มอบหมาย ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

ขั้นตอนที่ ๓ ศึกษา/เรียนรู้ด้วยตนเอง   จำนวน ๕๐ ชั่วโมง ภายในระยะเวลา ๒ เดือนโดยประมาณ

                          (๑) ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อประเมินความรู้เบื้องต้นตรวจสอบกับเฉลยและบันทึกคะแนนไว้
                          (๒) ศึกษาเนื้อหาสาระจากชุดการเรียนทางไกล และสื่อประกอบ 
                          (๓) ทำกิจกรรมการเรียนรู้ท้ายหน่วยการเรียนรู้ ๑ – ๓ ลงในแบบบันทึกการเรียนรู้ที่กำหนด ในคู่มือการเรียนทางไกล หลักสูตรอาเซียนศึกษา ส่วนที่ ๒ โดยผู้เรียนสามารถตรวจสอบกับแนวคำตอบ ที่ให้ไว้ท้ายชุดการเรียนทางไกล   กรณีที่คลาดเคลื่อนแนวคำตอบที่ให้ไว้ ผู้เรียนควรย้อนกลับไปศึกษา ทบทวนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจอีกครั้ง  
                          (๔) ทำกิจกรรมอาเซียนศึกษาที่มอบหมายที่มอบหมาย ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ตามใบงานที่กำหนด

                             ทั้งนี้ ผู้เรียนจะต้องส่งบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ในคู่มือการเรียนทางไกล (๓)  และผลงานจากกิจกรรมอาเซียนศึกษาที่มอบหมาย (๔)  รวมทั้งเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้ครูที่ปรึกษาตรวจให้คะแนน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของคะแนนการประเมินผล 

                          (๕) ทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียนรู้ ตรวจสอบกับเฉลย และนำคะแนนที่ได้ไปเปรียบเทียบกับคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน   กรณีที่ผู้เรียนได้รับคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน น้อยกว่าหรือเท่ากับคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน ให้ถือว่าผู้เรียนยังไม่บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้   ควรกลับไปศึกษาและทบทวนอีกครั้ง

                   ขั้นตอนที่ ๔ เข้ารับการสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตร จำนวน ๑๐ ชั่วโมง

๓) สัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตร จำนวน ๑๐ ชั่วโมง

                   (๑) เสริม เติมเต็มความรู้จากวิทยากร
                   (๒) แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เรียน จากผลงานการทำกิจกรรมที่มอบหมาย

          ๔) การทดสอบภาคความรู้ (ในช่วงที่เข้ารับการสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตร)

หลังจากบุคลากร กศน. จังหวัดนราธิวาสแล้ว จึงได้จัดโครงการสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตรอาเซียนศึกษา ห้องประชุม 1 สำนักงาน กศน. จังหวัดนราธิวาส
ประมวลภาพ
โครงการสัมมนาเสริมสร้างประสบการณ์และประเมินผลก่อนจบหลักสูตรอาเซียนศึกษา 
 
 
 

การจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาของกศน. อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

โดยศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะ
ขานรับคำสั่งการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา
ตามที่ทางกศน. ได้ส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดทุกจังหวัด/กทม. นั้น ดังนี้เนื้อหาว่า 

เรียน ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดทุกจังหวัด/กทม.

      ตามที่สำนักงาน กศน. ได้มีนโยบายให้มีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาขึ้นในปีงบประมาณ 
2556 จำนวน 15 แห่ง และทำพิธีเปิดศูนย์อาเซียนในแต่ละภูมิภาคไปแล้วนั้น สำหรับในปีงบประมาณ 
2557 สำนักงาน กศน. มีนโยบายให้ สำนักงาน กศน.อำเภอ/เขต ทุกแห่งจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาขึิน
เพื่อให้บริการด้านเรียนการสอน ภาษาอาเซียน บริการสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนให้กับประชาชน
ในพื้นที่ได้ศึกษาครอบคลุมทั่วประเทศ  เพื่อเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 และ
เมื่อสถานศึกษาได้ดำเนินการแล้วขอให้รายงานผลตามแบบรายงานที่แนบมา ส่งให้สำนักงาน กศน.
ทราบทุก 3 เดือน

      จึงเรียนมาเพื่อทราบ  และขอให้แจ้งกศน.อำเภอ/เขต ทราบและดำเนินการต่อไปด้วย

                                                             ขอแสดงความนับถือ

                                                            นายประเสริฐ  บุญเรือง
                                                                 เลขาธิการ กศน.
                          ooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
                     ooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
การจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา
ดังนั้นจากคำสั่งดังกล่าวทำให้ กศน.ในระดับอำเภอต่างๆ รวมทั้งเขตต่างๆในกทม. ก็ได้จัดตั้ง
ศูนย์อาเซียนศึกษา สามารถกล่าวได้ว่ากศน.ในทุกภาคของประเทศ ก็ได้จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา 
ตามความสามารถของแต่ละกศน. อำเภอ/เขต  ก่อนที่กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. 
อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ก็จะขอนำภาพการเปิดศูนย์อาเซียนศึกษาของกศน. อำเภอ/เขต
การจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะ
สำหรับการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะ นั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็น
ทางการแต่ศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะ ก็ได้ดำเนินการไปแล้วส่วนหนึ่ง โดยใช้เครือข่าย
ของกศน. อำเภอบาเจาะ ที่เข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สุไลมาน สมาแฮ แห่งศูนย์อาเซียนศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี และศูนย์นูซันตาราศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานคู่ขนานของแผนกวิชา
มลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
การดำเนินการของศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะ ในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้

1. การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษาผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media) 
การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษา ผ่านสื่อที่เรียกว่า โซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค  ทวิตเตอร์
บล๊อก ซึ่งนับว่าเป็นการเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
ผ่านกลุ่มเฟสบุ๊คที่ชื่อว่า "ศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. บาเจาะ"
ผ่านเว็บบล๊อกที่ http://aseanstudiesnfe.blogspot.com
2. การจัดสัมมนา จัดอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษา 
            สำหรับการจัดสัมมนา จัดอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษาของกศน. อำเภอบาเจาะ 
จังหวัดนราธิวาสนั้น ซึ่งนอกจากจะเป็นโครงการโดยตรงของกศน. อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสแล้ว 
ยังร่วมมือกับอาจารย์สุไลมาน สมาแฮ จากศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี 
และศูนย์นูซันตาราศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานคู่ขนานของแผนกวิชามลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยโครงการแรก
ที่ได้ดำเนินการคือ โครงการแนะแนวการศึกษาอาชีพสู่ประชาคมอาเซียน
3. วิทยากรด้านอาเซียนศึกษา
              สำหรับวิทยากรด้านอาเซียนศึกษานั้น ทางศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะได้ร่วมมือ
กับทางศูนย์นูซันตาราศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานคู่ขนานของแผนกวิชามลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในการจัดอบรม เสวนาเกี่ยวกับความ
รู้ด้านอาเซียนศึกษาสู่สาธารณะ โดยเชิญวิทยากรจากศูนย์นูซันตาราศึกษา ฯ และคณะนักศึกษาจาก
แผนกวิชามลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี ซึ่งในส่วนของนักศึกษานั้น จะเชิญนักศึกษาที่ได้เดินทาง สัมผัส ฝึกงานในประเทศต่างๆของ
อาเซียน และโดยเฉพาะ 3 นักศึกษาที่ีได้เดินทางมาแล้ว 8 ประเทศในกลุ่มอาเซียน
 ประเทศบรูไนดารุสสาลาม
กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

4. ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนศึกษา
              ศูนย์อาเซียนศึกษาจะเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษา โดยรวบรวมข้อมูลในรูปแบบของ
แผ่น CD DVD และในรูปแบบหนังสือ
         4.1  พจนานุกรมภาษาต่างๆ
                มีการรวบรวมพจนานุกรมภาษาต่างๆของกลุ่มประเทศอาเซียนที่ศูนย์อาเซียนศึกษา กศน.
อำเภอบาเจาะ มีไว้บริการแก่ผู้สนใจ ตัวอย่างที่ทางศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะมีไว้บริการ
 พจนานุกรมภาษามลายู ภาษามลายู-อังกฤษของประเทศมาเลเซีย
พจนานุกรมภาษาท้องถิ่นของประเทศมาเลเซีย
หนังสือความรู้เกี่ยวกับภาษา วรรณกรรมและทั่วไปประเทศมาเลเซีย
พจนานุกรมภาษามลายูของประเทศบรูไนดารุสสาลาม
หนังสือความรู้เกี่ยวกับประเทศบรูไนดารุสสาลาม
 พจานุกรมภาษาอินโดเนเซียของประเทศอินโดเนเซีย
พจานุกรมภาษาอินโดเนเซีย-ภาษามลายูมลาเลเซีย
 
 พจานุกรมภาษาท้องถิ่นของประเทศอินโดเนเซีย
หนังสือภาษาและวรรณกรรมอินโดเนเซีย
พจนานุกรมภาษาตากาล๊อกของประเทศฟิลิปปินส์
พจนานุกรมภาษาท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์
พจนานุกรมภาษาเวียดนามของประเทศเวียดนาม
         4.2 หนังสือองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
              หนังสือองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาของประเทศนั้นๆ เช่น
ตัวอย่างหนังสือต่างๆ
 
 
       4.3 ภาพยนต์และเพลงของประเทศต่างๆ 
             สำหรับภาพยนต์และเพลงของประเทศต่างๆ ทางศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะ 
จะเน้นประเทศที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยทางด้านภาคใต้ โดยเฉพาะมาเลเซีย อินโดเนเซีย
บรูไน และฟิลิปปินส์ ซึ่งภาพยนต์และเพลงดังกล่าวจะเก็บรวมรวมในรูปแบบของ CD DVD จำนวนหนึ่ง
เช่น 
ภาพยนต์มาเลเซีย
ภาพยนต์อินโดเนเซีย
5. การใช้คำปรึกษา คำแนะนำ ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนโดยเจ้าของประเทศ
  สำหรับการใช้คำปรึกษา คำแนะนำ ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนนั้น  การเรียนรู้กับเจ้าของประเทศ
น่าจะถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้จริง ซึ่งส่วนหนึ่งของคณะที่ปรึกษาและเครือข่าย
ของศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. อำเภอบาเจาะ นอกจากจะเป็นนักวิชาการในประเทศต่างๆแล้ว ยังเป็น
ผู้ที่เคยมาเดินทางมาเยี่ยม มาร่วมกิจกรรมกับทาง กศน. อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสมาแล้ว